วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่4


3.การจำลองโครงสร้างของ DNA
การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเพื่อจำลองดีเอ็นเอของตนเอง กระบวนการนี้เริ่มจากดีเอ็นเอสายเดี่ยวสร้างดีเอ็นเออีกสายที่เป็นคู่สมของตนจนกลายเป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่ กระบวนการเป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) มีการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการเพื่อป้องกันการกลายพันธุ์

รูปแบบการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต
แบบซีตา (Theta model) พบในสิ่งมีชีวิตที่มี DNA เป็นวงกลม เช่นแบคทีเรีย โดยช่วงหนึ่งดีเอ็นเอจะมีรูปร่างคล้าย θ การจำลองจะเริ่มที่จุดๆหนึ่งซึ่งจะโป่งออกเป็นห่วงโดยมี Replication fork อยู่ที่ปลายแต่ละด้านของจุดเริ่มต้น เกิด 2 ทิศทาง สุดท้ายจะได้ดีเอ็นเอ 2 วง
แบบซิกมา (Sigma model) ช่วงหนึ่งดีเอ็นเอมีรูปร่างคล้าย ς พบใน DNA ที่เป็นวงกลม ที่จุดเริ่มต้นจะเกิดช่องขาด ขึ้นเนื่องจากพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ถูกตัด ดีเอ็นเอสายหนึ่งยืดยาวออกไปเป็นแม่แบบ เมื่อสิ้นสุดจะได้ดีเอ็นเอเกลียวคู่เป็นวง 1 วง และเป็นเส้น 1 เส้น
แบบวาย (Y-shaped model) เป็นแบบที่พบมากที่สุด โดยจุดเริ่มต้นมีมากกว่า 1 จุด แต่ละจุดโป่งออกเป็นห่วงกระจายทั่วไป เกิด 2 ทิศทางพร้อมกัน ในที่สุดแต่ละห่วงจะมาชนกันได้ดีเอ็นเอใหม่ 2 สาย




การจำลองตัวเองของ DNA

โปรคาริโอต







รูปการจำลองตัวเองของโปรคาริโอต

การเริ่มต้น (Initiation) ในดีเอ็นเอของแบคทีเรียนั้นจะมีจุดสำหรับเริ่มจำลองดีเอ็นเอ มีโปรตีนเข้ามากระตุ้นให้ดีเอ็นเอที่จุดเริ่มต้นดังกล่าวคลายตัว เฮลิเคสเข้ามาตัดพันธะไฮโดรเจนระหว่างสายดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอบายดิงโปรตีนมาจับเพื่อป้องกันไม่ให้สร้างพันธะไฮโดรเจนต่ออีก
การสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ (Elongation) เมื่อดีเอ็นเอทั้งสองสายแยกจากกันแล้ว DNA polymerase III จะเข้ามาตรงจุดแยกเพื่อสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ เนื่องจาก DNA pol III มีคุณสมบัติในการสร้างดีเอ็นเอ
สายใหม่จาก
5’ ไป 3’ เท่านั้น ซึ่งต้องการแม่แบบที่เป็นสาย 3’ ไป 5’ แต่ดีเอ็นเอแม่แบบมีทั้งที่เป็น 3’ ไป 5’ และ
5’ ไป 3’ ดังนั้น การสร้างสายดีเอ็นเอจึงแบ่งเป็น 2 แบบดังนี้
สายต่อเนื่อง (Leading stand) คือสายที่เป็น 3’ ไป 5’ ในสายนี้ DNA polymerase III จะสร้าง
ดีเอ็นเอสายใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นโดย
Primaseสร้างไพรเมอร์ที่เป็นอาร์เอ็นเอสายสั้นๆ ขนาด 10 – 26
นิวคลีโอไทด์ เข้ามาจับกับดีเอ็นเอตรงจุดแยก จากนั้น
DNA polymerase III จะเติม dNTPsเข้ามาในทิศทาง 5’ ไป 3’ ไปเรื่อยๆ
สายไม่ต่อเนื่อง (Lagging stand) เนื่องจากสายนี้ดีเอ็นเอแม่แบบเป็น 5’ ไป 3’ การสร้างดีเอ็นเอเป็น
สายยาวไปทีเดียวจึงเกิดขึ้นไม่ได้ แต่จะใช้วิธีให้สายดีเอ็นเอโค้งงอผ่าน
DNA pol III เพื่อให้ DNA polymerase III สร้างดีเอ็นเอสายใหม่ในทิศทาง 5’ ไป 3’ เป็นชิ้นเล็กๆ เรียกชิ้นเล็กๆนี้ว่าชิ้นส่วนโอคาซากิ (Okazaki fragment) โดย Primaseสร้างไพรเมอร์ที่เป็นอาร์เอ็นเอสายสั้นๆ สำหรับการสร้างชิ้นส่วน
โอคาซากิแต่ละชิ้น หน่วยย่อยเบตาของ
DNA polymerase III จะเข้ามาจับที่ไพรเมอร์และเชื่อมต่อกับ DNA polymerase III เมื่อหมดชิ้นจะสร้างชิ้นใหม่ หน่วยย่อยเบตาอันเดิมจะหลุดไป หน่วยย่อยเบตาอันใหม่จะเข้ามาจับกับไพรเมอร์อันต่อไป เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
การตรวจสอบ ส่วนของไพรเมอร์ที่เป็นอาร์เอ็นเอจะถูกตรวจสอบด้วย DNA polymerase I และสร้าง
ดีเอ็นเอซ่อมแซมส่วนที่ตัดออกไป จุดขาดที่เกิดขึ้นบนสายดีเอ็นเอ เนื่องจาก
DNA polymerase I
ไม่ได้ต่อพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ตรงปลาย
5’ ของจุดตัดจะถูกเชื่อมด้วย
 ดีเอ็นเอไลเกส โดยสายต่อเนื่องจะตัดครั้งเดียว ส่วนสายไม่ต่อเนื่องจะตัดไพรเมอร์ของชิ้นส่วนโอคาซากิทุกชิ้น
การสิ้นสุด (Termination) ระหว่างจุดเริ่มต้นแต่ละแห่งจะมีจุดสิ้นสุดของเรพลิเคชันอยู่ด้วย มีขนาด 20 คู่เบส เรียกว่า ter sequence ซึ่งจะมีโปรตีนที่จดจำตำแหน่งนี้เข้ามาจับเพื่อบอกให้ DNA polymerase III รู้ว่าจำลองดีเอ็นเอมาครบรอบแล้ว


ยูคาริโอต

รูปการจำลองตัวเองในยูคาริโอต

การจำลองตัวเองในยูคาริโอตมีความซับซ้อนกว่า โดยจุดเริ่มต้นนั้นจะมีโปรตีนที่จดจำตำแหน่งนี้โดยเฉพาะเข้ามากระตุ้นให้ดีเอ็นเอคลายตัว DNA polymerase มีหลายชนิด โดยในนิวเคลียสใช้ DNA polymerase  และ DNA polymerase  โดย DNA polymerase  ทำหน้าที่คล้าย DNA polymerase III ในโปรคาริโอต DNA polymerase  ทำหน้าที่คล้ายหน่วยเบตาของ DNA polymerase III และ DNA polymerase
ทำหน้าที่คล้าย
DNA polymerase I ในโปรคาริโอต การสิ้นสุดเรพลิเคชันในยูคาริโอต เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โครงสร้างพิเศษที่เรียก
เทโลเมียร์ที่ตอนปลายของโครโมโซม
คำถาม
1.รูปแบบการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิตมีอะไรบ้าง
ตอบ1.แบบซีตา (Theta model) 2.แบบซิกมา (Sigma model)
2.การจำลองของตัวเองของโปรคาริโอตคืออะไร
ตอบการเริ่มต้น (Initiation) ในดีเอ็นเอของแบคทีเรียนั้นจะมีจุดสำหรับเริ่มจำลองดีเอ็นเอ มีโปรตีนเข้ามากระตุ้นให้ดีเอ็นเอที่จุดเริ่มต้นดังกล่าวคลายตัว เฮลิเคสเข้ามาตัดพันธะไฮโดรเจนระหว่างสายดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอ
บายดิงโปรตีน
มาจับเพื่อป้องกันไม่ให้สร้างพันธะไฮโดรเจนต่ออีก
3.การจำลองของตัวเองของยูคาริโอตคืออะไร
ตอบการจำลองตัวเองในยูคาริโอตมีความซับซ้อนกว่า โดยจุดเริ่มต้นนั้นจะมีโปรตีนที่จดจำตำแหน่งนี้โดยเฉพาะเข้ามากระตุ้นให้ดีเอ็นเอคลายตัว

ภาระงานที่3


2.โครงสร้าง DNA และ คุณสมบัติของ DNA
ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วย ฟอสฟอรัส และ ออกซิเจน), และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A), ไทมีน (thymine, T), ไซโตซีน (cytosine, C), และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง
ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดิช มีสเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และ ฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
โครงสร้างของ ดี เอน เอ
การศึกษาโครงสร้างของ ดี เอน เอ มีรากฐานมาจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่ม เริ่มตั้งแต่งานของ Chargaff แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งได้ศึกษาองค์ประกอบเบสของ ดี เอน เอ จากแหล่งต่างๆ แล้วสรุปเป็นกฎของ Chargaff ดังนี้
1. องค์ประกอบเบสของ DNA จากสิ่งมีชีวิตต่างชนิดจะแตกต่างกัน
2. องค์ประกอบเบสของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะเหมือนกัน แม้ว่าจะนำมาจากเนื้อเยื่อต่างกันก็ตาม
3. องค์ประกอบเบสของ DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีความคงที่ ไม่แปรผันตามอายุ อาหาร หรือสิ่งแวดล้อม
4. ใน DNA ไม่ว่าจะนำมาจากแหล่งใดก็ตาม จะพบ A=T , C=G หรือ purine = pyrimidine เสมอ
นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่ม ได้แก่ Flanklinและ Wilkins แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ศึกษาโครงสร้างของโมเลกุลของ ดี เอน เอ โดยใช้ภาพถ่ายการหักเหรังสีเอกซ์ที่ฉายผ่านโมเลกุล
(
X-rays diffraction)
ผลงานจากทั้งสองแหล่งนี้ทำให้ Watson และ Crick ค้นพบลักษณะโครงสร้างทุติยภูมิของ ดี เอน เอ ว่ามีลักษณะดังนี้
ดี เอน เอ มีรูปร่างเป็นแท่งเกลียวเวียนขวา (alpha-helix) ประกอบขึ้นจากโพลีดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์สองสาย เชื่อมกันด้วยพันธะไฮโดรเจนที่เกิดระหว่างเบสไนโตรเจนของแต่ละสาย โพลีดีออกซีไรโบนิคลีโอไทด์ทั้งสองสายนี้ จะทอดตัวกลับหัวกลับหางกัน (antiparalle) สายหนึ่งทอดตัวในทิศ 5 - 3 อีกสายหนึ่งจะทอดตัวในทิศ 3 -5 ในการเข้าคู่กันนี้ทั้งสองสายจะหันส่วนที่เป็นน้ำตาลและฟอสเฟตออกข้างนอก แล้วฝังส่วนที่เป็นเบสไว้ภายในแกนกลางโมเลกุล ทำให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแท่งเกลียว ดี เอน เอ มีขนาด 20 Å
๑ รอบเกลียวมีขนาด 34 Å ประกอบขึ้นจากจำนวนคู่เบส ๑๐ คู่ ดังนั้นแต่ละคู่เบสจะอยู่ห่างกัน 3.4 Å และการบิดรอบเกลียวทำให้โมเลกุลของ ดี เอน เอ เกิดร่องเกลียวสองขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่า major groove ขนาดเล็กเรียกว่า minor groove
การจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนของคู่เบสนั้น เป็นการเข้าคู่ที่จำเพาะ คือ C จะจับกับ G ด้วยพันธะไฮโดรเจน ๓ พันธะ และ A จับกับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจน ๒ พันธะ
รูปการจับคู่เบส
การจับคู่เบสอย่างจำเพาะมีประโยชน์คือ เมื่อเราทราบการเรียงลำดับเบสของโพลีดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ สายหนึ่งแล้ว ก็จะรู้การเรียงลำดับเบสของโพลีดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ในสายที่เข้าคู่กันด้วย เรียกลำดับนิวคลีโอไทด์ที่สามารถเข้าคู่กันได้นี้ว่า complementary base sequence
คุณสมบัติของ ดี เอน เอ
ความเป็นกรด ในสิ่งแวดล้อมปกติของเซลล์ ดี เอน เอ มีประจุเป็นลบ แสดงถึงคุณสมบัติการเป็นกรด ดี เอน เอ จึงสามารถจับกับไอออนหรือสารอื่นที่มีประจุบวกได้
การเสียสภาพของ ดี เอน เอ คำว่าการเสียสภาพ (denaturation) ของ ดี เอน เอ หมายถึงการทำให้ ดี เอน เอ ซึ่งเคยเป็นสายคู่แยกตัวออกมาเป็นสายเดี่ยว สิ่งที่ทำให้เกิดการเสียสภาพธรรมชาติของ ดี เอน เอ ได้แก่ ความร้อน กรด ด่าง รังสีเอกซ์ ยูเรีย ดี เอน เอ ที่เสียสภาพธรรมชาติไปแล้ว ถ้าปรับสิ่งแวดล้อมใหม่ให้เหมาะสม มันสามารถคืนสภาพธรรมชาติได้ใหม่ ตัวอย่างเช่น ในเทคนิค hybridization เขาจะทำให้ ดี เอน เอ เสียสภาพธรรมชาติด้วยความร้อนก่อน แล้วให้คืนสภาพธรรมชาติใหม่ด้วยการค่อยๆลดอุณหภูมิลง
การดูดกลืนแสง ด้วยคุณสมบัติของเบส ที่สามารถดูดกลืนแสงได้มากที่สุดที่ 260 nm ดี เอน เอ ก็ดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นนี้ได้ดีที่สุดเช่นกัน คุณสมบัตินี้ทำให้เราสามารถวัดหาปริมาณ ดี เอน เอ ด้วยการวัดการดูดกลืนแสง แต่สิ่งที่ต้องคำนึงในที่นี้คือ ดี เอน เอ ในปริมาณที่เท่ากัน ถ้าเป็นสายเดี่ยว (จากการทำให้เสียสภาพธรรมชาติ) จะดูดกลืนแสงได้มากกว่า ดี เอน เอ สายคู่ คุณสมบัตินี้เรียกว่า ไฮเพอร์โครมิซึม (hyperchromism)






การเสียสภาพธรรมชาติของ ดี เอน เอ และไฮเพอร์โครมิซึมมีความสัมพันธ์กัน เช่นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้แก่สารละลาย ดี เอน เอ บริเวณที่เป็น A-T rich region ซึ่งจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนน้อยกว่า G-C rich region จะเริ่มคลายเกลียวออก หากยังเพิ่มอุณหภูมิให้แก่สารละลาย ดี เอน เอ ต่อไป ในที่สุด ดี เอน เอ จะคลายเกลียวออกจนเป็นเส้นเดี่ยวทั้งหมด
ในขณะที่เกิดการคลายตัวของ ดี เอน เอ นั้น หากเราวัดค่าการดูดกลืนคลื่นแสงที่ 260 nm ไปด้วย จะพบว่าสารละลาย ดี เอน เอ มีการดูดกลืนคลื่นแสงมากขึ้นตามปรากฎการณ์ไฮเพอร์โครมิซึม ซึ่งหากเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ กับการดูดกลืนแสงที่ 260 nm จะได้กราฟที่เรียกว่า DNA melting curve ค่า tm ขึ้นกับปริมาณ G-C ใน ดี เอน เอ โดยที่ ดี เอน เอ ที่มี G-C สูง จะมีค่า tm สูงกว่า ดี เอน เอ ที่มี G-C ต่ำ
ดีเอ็นเอประกอบน้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose) ยึดจับกับหมู่ฟอสเฟต (-PO4) และเบสชนิดใดชนิดหนึ่งใน 4 ชนิด คือ แอดินีน (adenine : A) กวานีน (guanine: G) ซึ่งเป็นเบสชนิด พิวรีน (purine) ไซโทซีน (cytosine: C ) และ ไทมีน (thymine: T) ที่เป็นเบสชนิดไพริมิดีน (pyrimidine)
เมื่อเบสชนิดพิวรีนจับกับไพริมิดีน (แอดินีน จับกับ ไทมีน และ กัวนีน จับกับไซโทซีน) ที่อยู่ต่างสายพอลินิวคลีโอไทด์ด้วยพันธะไฮโดรเจนทำให้เกิดลักษณะโครงสร้างของพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายที่บิดเป็นเกลียว (double helix) เวียนขวา ซึ่งเป็นโครงสร้างของดีเอ็นเอ








คำถาม
1.ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร
ตอบกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid)
2.ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นอย่างไร
ตอบดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์
3.การจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจนของคู่เบสนั้น เป็นการเข้าคู่ที่จำเพาะอะไรกับอะไร
ตอบคือ C จะจับกับ G ด้วยพันธะไฮโดรเจน ๓ พันธะ และ A จับกับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจน ๒ พันธะ 




วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างของ DNA


โครงสร้างของ DNA

1.การค้นพบโครงสร้างของ DNA
   
          Rosalind franklin


 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ไขความลับของ DNA ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วยบุคคล 2 คู่ 
       คู่แรก คือ เจมส์  วัตสัน (James Watson) อัจฉริยะรุ่นเยาว์ที่เพิ่งจบปริญญาเอกพันธุศาสตร์มาหมาดๆจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา  และ ฟรานซิส คริก(Francis Crick) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษผู้หันมาสนใจเรื่องของชีววิทยาและพันธุศาสตร์ที่กำลังทำปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในขณะนั้น  ทั้งวัตสันและคริก ต่างก็ได้แรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือเรื่อง "ชีวิตคืออะไร ?" เหมือนกัน และมีความเชื่อว่า นักชีววิทยาจำเป็นต้องรู้โครงสร้างของ DNA  ก่อนจึงจะหาคำตอบของชีวิตได้ ทั้งสองใช้ภาพเอ็กซ์เรย์ในการหาโครงสร้างโมเลกุลของ DNA
     ส่วนอีกฟากฝั่ง จากคิงส์ คอลเลจ (King’s College) มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) คือ โรซาลินด์ แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักวิจัยสาวสวยบุคลิกเย็นชา วัย 31 ปี ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักวิทยาศาสตร์แนวหน้าระดับโลกทางด้านการถ่ายภาพ ผลึกและหาโครงสร้างโมเลกุล เธอเชื่อว่าการไขปริศนาโครงสร้างของดีเอ็นเอ ก็คือการได้ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ ที่มีคุณภาพดีที่สุด มีความคมชัด และมอรีส วิลคินส์ (Maurice Wilkins) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งหลังจากสงครามเขาให้สนใจวิชาชีวฟิสิกส์แทนวิชานิวเคลียร์ฟิสิกส์  โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์แล้วจึงย้ายมาที่ King’s College  ในปีพ.ศ.2489 
แฟรงคลินและวิลคินส์ทำการทดลองร่วมกันเพื่อพิสูจน์สมมติฐานโครงสร้างดีเอ็นเอ โดยแฟรงคลินได้ใช้เทคนิคเอกซเรย์ คริสตัลโลกราฟี (X-ray crystallography)

      วิลคินส์มีความสนิทสนมกับวัตสันและคริก แต่กลับมีปัญหาไม่กินเส้นกับผู้ร่วมงานสาวของตนเอง ทำให้วิลคินส์ถึงกับต้องแอบไปฟังสัมมนาของแฟรงคลินโดยชวนวัตสันไปด้วยเพื่อที่จะทราบว่าแฟรงคลินทำวิจัยไปถึงไหนแล้ว โดยสาเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างวิวกินส์ กับแฟรงคลิน เกิดขึ้นเมื่อ วิลคินส์ กล่าวอ้างถึงภาพถ่ายผลงานของแฟรงคลินเกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA  กลางที่ประชุมว่า “ดีเอ็นเอมีโครงสร้างเป็นสายเกลียว”  โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากเธอแต่อย่างใด  ซึ่งแฟรงคลินถือว่าผิดมารยาท และไม่สามารถให้อภัยได้ และเรื่องนี้เองที่หลายคนก็มองว่าไม่ยุติธรรม ซึ่งต่อมาวัตสัน ก็ได้ยอมรับเรื่องนี้ในการเขียนหนังสือ The Double Helix  และในหนังสือ DNA: The Secret of Life (2003) วัตสันยังกล่าวอีกว่า หากแฟรงคลินยังมีชีวิตอยู่ในปีที่เขาได้รับรางวัลโนเบล แฟรงคลินก็ควรได้รับพิจารณาให้ได้รางวัลด้วย

     และก็อาจจะกล่าวได้ว่า วัตสันและคริกนั้นไม่ได้ลงมือทำการทดลองกับตัวสาร DNA โดยตรง แต่ก็ได้อาศัยข้อมูลอันเป็นประโยชน์จากการผลการวิจัย ของนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ รวมทั้งวิลคินส์และแฟรงคลิน มาวิเคราะห์โครงสร้าง DNA ด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ โดยเฉพาะภาพเอกซเรย์ดีเอ็นเอ ของแฟรงคลิน ซึ่งเป็นทั้งกุญแจดอกสำคัญในการไขความลับของโครงสร้างดีเอ็นเอ และจุดแตกหักของแฟรงคลินและวิลคินส์
ในครั้งนั้นแฟรงคลิน เริ่มคลี่คลายปริศนา DNA ด้วยภาพถ่ายเอกซเรย์ DNA ซึ่งเธอสามารถถ่ายภาพโครงสร้างที่สมบูรณ์ที่สุดได้เมื่อพฤษภาคม 1952 แฟรงคลินพบว่าโครงสร้าง DNA ที่ แตกต่างกันเมื่ออยู่ในสภาวะความชื้น DNA จะยืดติด ก่อให้เกิดโครงสร้างที่แตกต่างไปเรียกว่าโครงสร้างแบบ B แต่เมื่อวิลคินส์ต้องการจะร่วมศึกษาโครงสร้าง DNA แบบ B ด้วย เธอก็ไม่ยินดีจนต้องถึงผู้ใหญ่ต้องออกมายุติเรื่อง โดยให้  วิลคินส์ศึกษาโครงสร้างแบบ B ส่วนแฟรงคลินศึกษาโครงสร้างแบบ A และนี่เองที่ทำให้ ภาพของถ่ายดีเอ็นเอ แบบ B ของแฟรงคลินตกไปอยู่ในมือของวัตสัน เมื่อวิลคินส์ได้มอบให้วัตสันในครั้งที่วัตสันเดินทางลอนดอนเพื่อแจ้งข่าวความคืบหน้าการหาคำตอบโครงสร้างของดีเอนเอของไลนัส พอลิ่ง แต่ก็ต้องมีปากเสียงอย่างหนักกับแฟรงกินในการสนทนาทางความคิดเรื่องดีเอนเอ
เมื่อวิลคินส์ได้มอบภาพถ่ายให้แก่วัตสันดู ซึ่งมันเป็นภาพที่คมชัดมากทีสุดเท่าที่จะเคยเห็นมาก่อน จนสร้างความตื่นเต้นให้กับวัตสันและคริกอย่างมาก และแสดงให้เห็นชัดว่า DNA  มีโครงสร้างเป็นสายเกลียว และด้วยภูมิความรู้ของทั้งคู่ พวกเขาคำนวณจากภาพฟิลม์เอกซเรย์และพบว่า ดีเอ็นเอน่าจะจับกันมากกว่าหนึ่งสายและมีโครงสร้างเป็นรูปซ้ำๆ (ตอนนั้นคาดกันว่าน่าจะเป็นสามหรือสี่สาย) อาจจะมีรูปแบบการจับกันมากกว่าหนึ่งแบบอีกด้วย ในที่สุดพวกเขาก็แน่ใจว่า โครงสร้างดีเอ็นเอเป็นเกลียวคู่
สำหรับผลงานที่ตีพิมพ์ลงในวาสาร Nature ฉบับวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1953  นั้น วัตสันและคริก พบว่าโครงสร้างของดีเอ็นเอมีลักษณะเป็นสายเกลียวคู่ (Double helix) มีเบสที่จับคู่กันระหว่างสองสายอย่างเฉพาะเจาะจง คือ A (อะดีนีน : Adenine) เกาะกับ T (ไทมีน : Thymine) ด้วยพันธะคู่ของไฮโดรเจน และ C (ไซโทซีน : Cytosine) เกาะกับ G (กัวนีน : Guanine) ด้วยพันธะสาม  โดยคาดว่าเบสทั้ง 4 ตัวยึดติดกับน้ำตาลและฟอสเฟตตรงแกนหลัก   การจับคู่ของเบสในลักษณะนี้ ทำให้ดีเอ็นเอสามารถต่อกันได้เป็น
สายยาวอย่างต่อเนื่อง  โดยดีเอ็นเอของสายหนึ่งเป็นแบบจำลองของDNAอีกสายหนึ่งโดยอัตโนมัติ     
ส่วนทางฝั่งของ แฟรงคลินและวิลคินส์ มีผู้พบบันทึกการทดลองของแฟรงคลินในภายหลังว่า
เธอได้เตรียมรายงานผลงานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างดีเอ็นเอ เพื่อลงในวาสาร Nature เสร็จตั้งแต่วันที่
 17 มีนาคม ค.ศ. 1953  ก่อนหน้าที่คริกและวัตสันจะส่งต้นฉบับถึง Nature เพียงหนึ่งวันเท่านั้น!  แต่สุดท้ายผลงานของทั้งคู่ก็ได้ลงตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับเดียวกัน
เหตุผลที่ไม่มีชื่อของโรซาลินด์ แฟลงคลินในรายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1962 นั้นก็เพราะ 4 ปีก่อนการประกาศรางวัล เธอต้องจบชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งรังไข่ใน และรางวัลโนเบลมอบให้เฉพาะนักวิทยาศาสตร์ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ชีวิตของเธอถูกบันทึกไว้ในหนังสือชื่อ Rosalind Franklin and DNA โดยเพื่อนของเธอ Anne Sayre
คำถาม
1.นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่อง DNA มีกี่คู่และมีใครบ้าง
ตอบ 2 คู่ คือ 1.เจมส์  วัตสัน (James Watson)และ ฟรานซิส คริก(Francis Crick) 2.โรซาลินด์ แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) และ มอรีส วิลคินส์ (Maurice Wilkins)
2.แฟรงคลินและวิลคินส์ทำการทดลองร่วมกันเพื่อพิสูจน์สมมติฐานโครงสร้างดีเอ็นเอ โดยแฟรงคลินได้ใช้เทคนิคอะไร
ตอบ  เทคนิคเอกซเรย์ คริสตัลโลกราฟี (X-ray crystallography)
3. โรซาลิน แฟรงกิน เสียชีวิตเพราะสาเหตุอะไร
ตอบ  โรคมะเร็งรังไข่ใน

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่ 1


สวัสดีเพื่อนๆชาว blogspot ทุกคนนะคับ

สำหรับพวกเราเป็นบล็อกน้องใหม่นะคับมีชื่อบล็อกว่า: infinity of think



สโลแกนของเรา : การค้นพบที่ยิ่ง คือการค้นพบสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่มี


ซึ่งมีสมาชิกที่ร่วมกันจัดทำขึ้นดังนี้
1.นายศักดิ์ทวี   ไพเราะ  เลขที่ 23 
 2.นายพัชรพฤกษ์  วรรณา เลขที่ 38 
3.นายรัฐศาสตร์  สุขแป เลขที่ 40 
เสนอ
คุณครูจิตติพร  สุวรรณาลัย 

     การศึกษาโครงสร้างของ DNA ทำให้ทราบว่า โครงสร้างของ DNA เป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน ต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งถึงจะเข้าใจ คณะทำงานของเราจึงอยากที่จะศึกษาโครงสร้างของ DNA เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลที่สนใจ ได้ศึกษาโดยเผยแผร่ผ่านบล็อกผ่านทางอินเตอร์เน็ตเนื่องจากเทคโนโลยีและ อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นคณะทำงานของเราคิดว่าถ้า เผยแผร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะทำให้สามารถเผยแผร่ได้ดีและเป็นที่สนใจมากกว่า ช่องทางอื่นคณะทำงานของเราจึงจัดทำบล็อกนี้ขึ้น




สำหรับวัตถุประสงค์ที่พวกเราจัดทำเรื่องนี้ขึ้นก็เพราะว่า 

1.เพื่อศึกษาโครงสร้างของ DNA 
2.เพื่อเผยแพร่บล็อกเกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษา 
3.เพื่อใช้ความรู้ในวิชาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำบล็อก





และประโยชน์ที่จะได้รับคือ
1.ทราบโครงสร้างของ DNA
2.ได้แผยแพร่เกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA
3.รู้จักใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์